May 29, 2005
Why CIOs balk at open source apps
By Jan Stafford
โปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สที่สำคัญ ๆ สำหรับธุรกิจ – เช่นประเภทใช้ครอบคลุมระบบงานในบริษัทและระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning = ERP) – ไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจนำมาใช้งานในบริษัทต่าง ๆ ในปี 2005
การสำรวจความคิดเห็นแบบไม่เป็นทางการของ SearchEnterpriseLinux.com กับผู้บริหารระดับสูง พบว่า มีการใช้งาน Linux, ใช้ MySQL เป็นตัวเสริมสำหรับงานจัดการฐานข้อมูล (DBMS), และใช้งาน Apache แต่สำหรับ ‘งานที่สำคัญระดับวิกฤติ’ แล้ว ถ้าเป็นโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สยังต้องมองหาต่อไปในอนาคต
เหตุผลของนักบริหารที่ยังคงไม่ใช้โปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์ส คือความกลัวโดยสามัญสำนึก ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีกล่าว
บ างบริษัทไม่ยอมรับโอเพ่นซอร์สเพราะพวกเขาไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรือกำลังคนภายใน บริษัท เคเนต เจ เวบเบอร์ เจ้าของบริษัทเวบเบอร์ อิเลคทรอนิค บอก
แม้ราคาต่อประสิทธิภาพ และเสรีภาพในการใข้งาน ซึ่งโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สมีให้ จะดึงดูดใจเพียงไร แต่การนำมันมาใช้งานและทำงานร่วมกับระบบงานเดิมที่มีอยู่ ยังคงเป็นเรื่องที่ “ปวดหัวอย่างมาก” เวบเบอร์กล่าว “ผมปรารถนาอย่างมากให้ซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สใช้งานง่ายและปลั๊กแอนด์เพลย์ เหมือนวินโดว์ แต่วันนั้นก็ยังมาไม่ถึงซะที”
เลิกใช้งานของเดิมเป็นเรื่องยาก
ขณะที่โปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สมีต้นทุนที่ต่ำกว่าโปรแกรมลิขสิทธิ์แบบอื่น แต่ขั้นตอนที่ตามมาภายหลังอาจมีค่าใช้จ่ายสูง เคน แฮนสัน นักวิเคราะห์ที่ทำงานให้กับแอคคิวลอจิก บริษัทยาในบริสเบน เพนซิลวาเนีย กล่าว
“การเข้ามาแทนที่โปรแกรมเดิมที่ใช้งานอยู่เป็นงานที่มีต้นทุนสูง แม้ว่าซอฟท์แวร์ที่คุณจะนำมาใช้นั้นจะฟรี” แฮนสันอธิบาย
ผู้ให้คำปรึกษาด้านไอทีอิสระ และแอดมินของมหาวิทยาลัย ไบรอัน มาซายนิค กล่าวเพิ่มว่า การทำให้โปรแกรมแบบลิขสิทธิ์ที่มีอยู่เดิมใข้งานร่วมกับลินุกซ์และซอฟท์แวร์ โอเพ่นซอร์สเป็นเรื่องยาก ตัวอย่างเช่น เวบเพจบางหน้าสามารถดูผ่าน IE เท่านั้นเนื่องจากต้องใช้ ActiveX
โปรแกรมที่มีให้ใช้ยังไม่เพียงพอ
ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที เผยถึงข้อบกพร่องต่อความพร้อมใช้งาน ในกลุ่มโปรแกรมโอเพ่นซอร์สระดับเอนเทอร์ไพรส์
“แน่นอนว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่ไอทีคนไหนจะเชื่อว่าโซลูชั่นด้านอีเมล์ของโอเพ่นซอร์สจะแย่ กว่าของไมโครซอฟท์” เคน เมอร์รา ผู้ให้คำปรึกษาและผู้จัดการไอทีสำหรับบริษัทด้านงานพิมพ์ใกล้เมืองดัลลัส กล่าว
แฮนสันบอกว่าอุปสรรคหลัก ๆ ที่ขัดขวางการนำโอเพ่นซอร์สมาใช้คือ ไม่มีซอฟท์แวร์ระดับเอนเทอร์ไพรส์มากเพียงพอ -ภาคธุรกิจต้องการซอฟท์แวร์ที่มากกว่าโปรแกรมแบบธรรมดาที่มีอยู่อย่าง เวบเซิฟเวอร์, ดาต้าเบส, ระบบปฏิบัติการ ฯลฯ – มันยากที่จะหาซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สที่เหมาะสมมาใช้งาน
“พวกเราต้องกา รโปรแกรมที่สามารถเลียนแบบทุก ๆ โปรแกรมที่เป็นที่นิยมของวินโดว์ และต้องการฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนการใช้งานในระบบหลัก ๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง” มาซายนิคกล่าวเพิ่ม
การขาดแคลนทางเลือกนี้ รับรู้กันทั้งตลาดในแนวดิ่ง ตั้งแต่นายหน้า, กลุ่มบริษัทประกันภัย, ไปจนถึงบริษัทด้านสุขภาพบางแห่ง ทั้งหมดนี้ พวกเขาบอกว่าเขาผูกติดกับวินโดว์และระบบลิขสิทธิ์แบบ proprietary จนกว่าจะมีโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สที่เชื่อถือได้และใช้งานร่วมกับระบบอื่นได้ ออกมา
ความกลัวและ FUD (Fear, Uncertainty, and Doubt)
ขณะที่เกิดสามัญสำนึกเรื่อง ทำไมจึงไม่ควรใช้โอเพ่นซอร์สกับงานสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีส่วนใหญ่เชื่อว่าความกลัวนี้เป็นเหตุผลหลักที่ผู้บริหา รด้านไอทีตามบริษัทต่าง ๆ ไม่ใช้โอเพ่นซอร์ส ทุกวันนี้ ไม่มีใครโดนไล่ออกเพราะเลือกใช้ไมโครซอฟท์
ถ้าไอบีเอ็ม, ฮิวเลตแพคการ์ด, และออราเคิล เริ่มต้นย้ายโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ไปใช้โอเพ่นซอร์ส เมื่อนั้นพวกผู้บริหารไอทีก็จะเริ่มสังเกตุเห็น ตราบใดที่ยังไม่เป็นแบบนั้น พวกนั้นก็ยังยึดความปลอดภัยเอาไว้ก่อน
“ผู้บริหารส่วนใหญ่ โดยธรรมชาติแล้วจะอนุรักษ์นิยม และจะเดินในเส้นทางที่มีการต่อต้านน้อยที่สุด” ซิด บอยซ์ ผู้เชี่ยวชาญงานสนับสนุนด้านเทคนิคเซิฟเวอร์ SPARC ในอังกฤษบอก “พวกเขาจะยังคงจ่ายให้อะไรก็ตาม ที่ทำให้เขารู้สึกว่าปลอดภัย, ทำงานได้…และไม่ต้องใข้สมองมาก”
แต่อย่ากล่าวโทษไปที่ผู้บริหารไอทีทั้งหมด เพราะทุก ๆ คน – ตั้งแต่ลูกค้าไปจนถึงซีอีโอ – ต่างต่อต้านการเปลี่ยนแปลง โฮเซ่ วาพินโต้ ผู้ตรวจสอบสถาบันวิศวกรรมระดับชาติในลิสบอน โปรตุเกส บอก
การมีปัญหากับซอฟท์แวร์แบบ proprietary จะบังคับให้พวกนั้นยอมรับโอเพ่นซอร์สได้ทีละน้อย
ผู้บริหารด้านไอทีที่ไม่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจะก้าวกระโดดในการแข่งขัน วาพินโต้กล่าว ผู้บริหารที่ฉลาดจะเข้าใจว่าโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่ใช้ในธุรกิจจำนวนมาก ช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี และจะกลายเป็นมาตรฐานในวันหนึ่ง
เรียบเรียง จาก Why CIOs balk at open source apps
โปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สที่สำคัญ ๆ สำหรับธุรกิจ – เช่นประเภทใช้ครอบคลุมระบบงานในบริษัทและระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning = ERP) – ไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจนำมาใช้งานในบริษัทต่าง ๆ ในปี 2005
การสำรวจความคิดเห็นแบบไม่เป็นทางการของ SearchEnterpriseLinux.com กับผู้บริหารระดับสูง พบว่า มีการใช้งาน Linux, ใช้ MySQL เป็นตัวเสริมสำหรับงานจัดการฐานข้อมูล (DBMS), และใช้งาน Apache แต่สำหรับ ‘งานที่สำคัญระดับวิกฤติ’ แล้ว ถ้าเป็นโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สยังต้องมองหาต่อไปในอนาคต
เหตุผลของนักบริหารที่ยังคงไม่ใช้โปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์ส คือความกลัวโดยสามัญสำนึก ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีกล่าว
บ างบริษัทไม่ยอมรับโอเพ่นซอร์สเพราะพวกเขาไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรือกำลังคนภายใน บริษัท เคเนต เจ เวบเบอร์ เจ้าของบริษัทเวบเบอร์ อิเลคทรอนิค บอก
แม้ราคาต่อประสิทธิภาพ และเสรีภาพในการใข้งาน ซึ่งโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สมีให้ จะดึงดูดใจเพียงไร แต่การนำมันมาใช้งานและทำงานร่วมกับระบบงานเดิมที่มีอยู่ ยังคงเป็นเรื่องที่ “ปวดหัวอย่างมาก” เวบเบอร์กล่าว “ผมปรารถนาอย่างมากให้ซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สใช้งานง่ายและปลั๊กแอนด์เพลย์ เหมือนวินโดว์ แต่วันนั้นก็ยังมาไม่ถึงซะที”
เลิกใช้งานของเดิมเป็นเรื่องยาก
ขณะที่โปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สมีต้นทุนที่ต่ำกว่าโปรแกรมลิขสิทธิ์แบบอื่น แต่ขั้นตอนที่ตามมาภายหลังอาจมีค่าใช้จ่ายสูง เคน แฮนสัน นักวิเคราะห์ที่ทำงานให้กับแอคคิวลอจิก บริษัทยาในบริสเบน เพนซิลวาเนีย กล่าว
“การเข้ามาแทนที่โปรแกรมเดิมที่ใช้งานอยู่เป็นงานที่มีต้นทุนสูง แม้ว่าซอฟท์แวร์ที่คุณจะนำมาใช้นั้นจะฟรี” แฮนสันอธิบาย
ผู้ให้คำปรึกษาด้านไอทีอิสระ และแอดมินของมหาวิทยาลัย ไบรอัน มาซายนิค กล่าวเพิ่มว่า การทำให้โปรแกรมแบบลิขสิทธิ์ที่มีอยู่เดิมใข้งานร่วมกับลินุกซ์และซอฟท์แวร์ โอเพ่นซอร์สเป็นเรื่องยาก ตัวอย่างเช่น เวบเพจบางหน้าสามารถดูผ่าน IE เท่านั้นเนื่องจากต้องใช้ ActiveX
โปรแกรมที่มีให้ใช้ยังไม่เพียงพอ
ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที เผยถึงข้อบกพร่องต่อความพร้อมใช้งาน ในกลุ่มโปรแกรมโอเพ่นซอร์สระดับเอนเทอร์ไพรส์
“แน่นอนว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่ไอทีคนไหนจะเชื่อว่าโซลูชั่นด้านอีเมล์ของโอเพ่นซอร์สจะแย่ กว่าของไมโครซอฟท์” เคน เมอร์รา ผู้ให้คำปรึกษาและผู้จัดการไอทีสำหรับบริษัทด้านงานพิมพ์ใกล้เมืองดัลลัส กล่าว
แฮนสันบอกว่าอุปสรรคหลัก ๆ ที่ขัดขวางการนำโอเพ่นซอร์สมาใช้คือ ไม่มีซอฟท์แวร์ระดับเอนเทอร์ไพรส์มากเพียงพอ -ภาคธุรกิจต้องการซอฟท์แวร์ที่มากกว่าโปรแกรมแบบธรรมดาที่มีอยู่อย่าง เวบเซิฟเวอร์, ดาต้าเบส, ระบบปฏิบัติการ ฯลฯ – มันยากที่จะหาซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สที่เหมาะสมมาใช้งาน
“พวกเราต้องกา รโปรแกรมที่สามารถเลียนแบบทุก ๆ โปรแกรมที่เป็นที่นิยมของวินโดว์ และต้องการฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนการใช้งานในระบบหลัก ๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง” มาซายนิคกล่าวเพิ่ม
การขาดแคลนทางเลือกนี้ รับรู้กันทั้งตลาดในแนวดิ่ง ตั้งแต่นายหน้า, กลุ่มบริษัทประกันภัย, ไปจนถึงบริษัทด้านสุขภาพบางแห่ง ทั้งหมดนี้ พวกเขาบอกว่าเขาผูกติดกับวินโดว์และระบบลิขสิทธิ์แบบ proprietary จนกว่าจะมีโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สที่เชื่อถือได้และใช้งานร่วมกับระบบอื่นได้ ออกมา
ความกลัวและ FUD (Fear, Uncertainty, and Doubt)
ขณะที่เกิดสามัญสำนึกเรื่อง ทำไมจึงไม่ควรใช้โอเพ่นซอร์สกับงานสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีส่วนใหญ่เชื่อว่าความกลัวนี้เป็นเหตุผลหลักที่ผู้บริหา รด้านไอทีตามบริษัทต่าง ๆ ไม่ใช้โอเพ่นซอร์ส ทุกวันนี้ ไม่มีใครโดนไล่ออกเพราะเลือกใช้ไมโครซอฟท์
ถ้าไอบีเอ็ม, ฮิวเลตแพคการ์ด, และออราเคิล เริ่มต้นย้ายโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ไปใช้โอเพ่นซอร์ส เมื่อนั้นพวกผู้บริหารไอทีก็จะเริ่มสังเกตุเห็น ตราบใดที่ยังไม่เป็นแบบนั้น พวกนั้นก็ยังยึดความปลอดภัยเอาไว้ก่อน
“ผู้บริหารส่วนใหญ่ โดยธรรมชาติแล้วจะอนุรักษ์นิยม และจะเดินในเส้นทางที่มีการต่อต้านน้อยที่สุด” ซิด บอยซ์ ผู้เชี่ยวชาญงานสนับสนุนด้านเทคนิคเซิฟเวอร์ SPARC ในอังกฤษบอก “พวกเขาจะยังคงจ่ายให้อะไรก็ตาม ที่ทำให้เขารู้สึกว่าปลอดภัย, ทำงานได้…และไม่ต้องใข้สมองมาก”
แต่อย่ากล่าวโทษไปที่ผู้บริหารไอทีทั้งหมด เพราะทุก ๆ คน – ตั้งแต่ลูกค้าไปจนถึงซีอีโอ – ต่างต่อต้านการเปลี่ยนแปลง โฮเซ่ วาพินโต้ ผู้ตรวจสอบสถาบันวิศวกรรมระดับชาติในลิสบอน โปรตุเกส บอก
การมีปัญหากับซอฟท์แวร์แบบ proprietary จะบังคับให้พวกนั้นยอมรับโอเพ่นซอร์สได้ทีละน้อย
ผู้บริหารด้านไอทีที่ไม่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจะก้าวกระโดดในการแข่งขัน วาพินโต้กล่าว ผู้บริหารที่ฉลาดจะเข้าใจว่าโปรแกรมโอเพ่นซอร์สที่ใช้ในธุรกิจจำนวนมาก ช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี และจะกลายเป็นมาตรฐานในวันหนึ่ง
เรียบเรียง จาก Why CIOs balk at open source apps
May 08, 2005
หวงวิชา
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1289 ประจำวันที่ 29 เม.ย.-5 พ.ค. 2548
ผมได้ยินตั้งแต่เล็กว่า คนไทยหวงวิชา รู้อะไรแล้วก็ไม่ยอมบอกคนอื่นง่าย ๆ จึงเป็นสาเหตุทำให้วิชาความรู้ในบ้านเมืองเราไม่เจริญ
ฟังปั๊บก็รู้ได้ทันทีนะครับว่า นี่เป็นคำอธิบายความไม่เจริญ (ทัดเทียม) ฝรั่งในด้านวิชาความรู้ของไทย ฉะนั้น คำอธิบายนี้ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม ย่อมปลอบใจคนไทยไปพร้อมกัน
ผมมาสนใจว่าจริงหรือไม่เอาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว นั่นคือเริ่มจากการมองหาหลักฐาน เช่นคำสั่งสอนในสมัยโบราณที่ว่ารู้อันนี้แล้ว อย่าเที่ยวไปบอกใครเชียวนะ ไปจนถึงระแวดระวังไม่ให้คนอื่นได้รู้อะไรที่ตัวรู้อยู่ ผมไม่พบหลักฐานโบราณสักชิ้นเดียว ไม่ว่าในวรรณกรรมหรือเอกสารประเภทอื่น จนมาถึงประมาณสมัย ร.5 ลงมา
แปลว่าไม่มีหลักฐานว่าคนไทยรุ่นก่อนหน้านั้นหวงวิชา
ก็พระเจ้าแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างวัดโพธิ์ ด้วยตั้งพระทัยจะรวบรวมสรรพวิชาความรู้เท่าที่จะสืบหามาได้ในสมัยนั้น รวบรวมขึ้นไว้สำหรับการที่คนทั่วไปจะได้เรียนรู้ตามความปรารถนา แล้วจะบอกว่าหวงวิชาได้อย่างไรครับ
อย่างไรก็ตาม คนที่เชื่อว่าคนไทยหวงวิชาก็ยังอธิบายได้อยู่ดีว่า ให้ดูวัดโพธิ์นั่นแหละเป็นพยาน จะเห็นว่าสรรพวิชาความรู้ที่รวมไว้ในนั้นล้วนเป็นความรู้ชั้นพื้น ๆ ซึ่งใคร ๆ เขาก็รู้กันหมดแล้วทั้งนั้น ไม่มีดุษฎีบัณฑิตคนไหนยอมปล่อยความรู้ระดับลึกในทางโหราศาสตร์, การแพทย์ หรืออักษรศาสตร์ออกมาสู่สาธารณะเลย
ฟังน่าระย่อมากนะครับ และผมเองก็ระย่ออยู่เป็นนานจนแก่ป่านนี้ เพราะไม่มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ไทยโบราณ, โหราศาสตร์ไทยโบราณ, แพทย์แผนไทยโบราณ, อักษรศาสตร์ไทยโบราณ ฯลฯ พอที่จะประเมินได้ว่า ความรู้ในจารึกวัดโพธิ์นั้นผิวเผินจริงหรือไม่
แต่บัดนี้ก็แก่จนได้ที่แล้ว จึงหมดความระย่อลงไปและอยากตั้งคำถามว่า อ้ายความรู้ที่ว่าลึกนักลึกหนาซึ่งไม่กล้าเผยแพร่ให้ใครรู้นั้นคืออะไร? ผมไม่เคยได้ยินสักเรื่องเดียวเลย เช่นมีกลอนกลบทอะไรที่เขาผูกกันมาแต่โบราณ ซึ่งไม่ปรากฏในจารึกวัดโพธิ์บ้าง? ก็ไม่เห็นมีนะครับ
ส่วนจะบอกว่าความรู้ที่วัดโพธิ์ให้ไว้นั้น ไม่ทำให้ใครสามารถผูกกลบทใหม่ของตัวขึ้นได้ นั่นอาจจะจริงหรือไม่จริงผมไม่แน่ใจ เพราะโบราณเชื่อว่าเรียนของเก่าให้เจนจัดแล้ว ก็จะสร้างของใหม่ได้เอง ถึงเีรยนกลบทโบราณแล้วไม่ทำให้ใครผูกกลบทใหม่ได้จริง ก็เป็นเพราะปรัชญาการศึกษาของไทยโบราณไม่ได้ต้องการให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ นับเป็นคนละเรื่องกับหวงวิชา
ว่าเฉพาะแขนงความรู้ที่ผมพอมีโอกาสได้อ่านเอกสารบ้าง คือการแพทย์แผนไทย ผมก็ไม่เคยเห็นความรู้อะไรที่ลึกซึ้งที่ถูกเก็บงำเอาไว้ไม่ยอมให้เผยแพร่ในจารึกวัดโพธิ์สักชิ้นเดียว
จริงอยู่หรอกครับ ตัวยาสำหรับแก้โรคลงท้อง อาจแตกต่างกันในแต่ละตำรับ รวมไปถึงสัดส่วนของตัวยาที่ใช้ วิธีปรุงไปจนถึงวิธีกิน และวิธีเสกคาถาปิดปากหม้อยา ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แม้แต่การแบ่งสาเหตุของการลงท้องว่ามีกี่อย่างก็อาจไม่เหมือนกันด้วย แต่ทุกตำรับก็มีหลักการตรงกันที่พยายามสร้างสมดุลของธาตุทั้งสี่ในร่างกายเหมือนกันทั้งนั้น
ตำรับที่ไม่อยู่ในจารึกวัดโพธิ์ดีกว่าหรือไม่ ผมไม่ทราบ และเชื่อว่าคนโบราณก็ไม่ทราบชัดเหมือนกัน แต่ละสำนักคงอ้างว่าของตัวเด็ดดวงกว่าสำนักอื่นทั้งนั้น แต่เราไม่เคยมีการประเมินสัมฤทธิผลของตำรับยาอย่างเป็นระบบในสมัยโบราณ ฉะนั้น ที่ปรากฏในจารึกวัดโพธิ์จึงเป็นตำรับที่ดีที่สุดหรือคนทำเชื่อว่าดีที่สุด (เช่นเป็นของหมอหลวง) แต่อาจไม่ได้ผลจริงก็ได้
ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะหวงวิชา
ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ถ้ารวบรวมตำรับยาทั้งคนบอกผีบอกในเมืองไทย ซึ่งอุตสาห์เก็บกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกระจายกันในการครอบครองของบุคคล, ของวัด และของราชการแล้ว ก็จะพบปริมาณมากมายเหลือคณานับ เขาจะลงมือเขียนเอาไว้ทำไม นอกจากเก็บความรู้เหล่านั้นไว้ไม่ให้สูญหายและเผยแพร่ให้แก่คนอื่น ๆ ซึ่งอ่านหนังสือออกและสนใจเรื่องนี้ได้รู้นั่นเอง
ฉะนั้น จึงไม่มีการหวงวิชา อย่างน้อยก็ในหมู่ประชากรที่อ่านหนังสือออก (ซึ่งอาจมีไม่ถึงครึ่ง) อย่างแน่นอน
ประเพณีเรียนหนังสือที่เล่ากันมาก็เหมือนกัน อยากเรียนหนังสือก็เอาพ่อแม่ไปประกอบพิธีกรรมกับครู เสีย "ค่ายกครู" ซึ่งแทบไม่มีค่างวดอะไรในพิธีกรรม แล้วก็ได้เรียนหนังสือ ประเพณีอย่างนี้ฟังดูไม่น่าจะเป็นไปได้ในวัฒนธรรมหวงวิชาเลยนะครับ เอาลูกเข้าสาธิตหรือสวนกุหลาบปัจจุบันยังยากกว่ากันเป็นแสนเท่า
ตรงกันข้ามกับที่ประกาศกันมา ผมกลับคิดว่าการหวงวิชาเป็นผลผลิตของโลกสมัยใหม่ต่างหาก คนที่หวงวิชาที่สุดในโลกเวลานี้ คือฝรั่งในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งพยายามจะสร้างระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เอาเปรียบคนอื่น ๆ ทั้งโลก เพราะความรู้ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่กลายเป็นสินค้าร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นไปไม่ได้ในระบบสังคมของโลกสมัยใหม่ ที่จะหวงความรู้เอาไว้แต่ผู้เดียว จึงต้องจดสิทธิบัตรความรู้เอาไว้ให้ขายกินกำไรได้นาน ๆ หรือแบ่งความรู้ออกขายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อทำกำไรได้มากกว่า
จริงอยู่หรอกครับ ที่ฝรั่งรู้จักการขยายความรู้ให้แพร่หลายในหมู่ประชาชน (popularization of knowledge) มาก่อนไทย จึงดูเหมือนไม่ได้หวงวิชา แต่ที่คนไทยไม่ได้ขยายความรู้ให้แพร่หลาย ก็ไม่ใช่เพราะหวงวิชาหรอก ก็มีปัญญาความสามารถจะขยายได้แค่นั้น คือเขียน (เพราะยังไม่มีการพิมพ์) ลงสมุดเก็บไว้หรือถวายวัด (ซึ่งคือการเผยแพร่อย่างหนึ่ง) อีกทั้งไม่มีเงื่อนไขปัจจัยอะไรในสังคมไทยโบราณ ที่จะต้องขยายความรู้ให้แพร่หลายอย่างกว้างขวางเท่าสังคมฝรั่งด้วย
กล่าวโดยสรุปก็คือ การหวงวิชาเกิดขึ้นเมื่อวิชากลายเป็นสินค้า หรือมีผลประโยชน์ทางการค้าเข้ามาเกี่ยวข้องกับความรู้และการใช้ความรู้ต่างหาก
และการหวงวิชาในลักษณะนี้ ได้ยินได้ฟังกันในเมืองไทยมากก็หลัง ร.5 มาแล้วทั้งนั้น วิชาหนึ่งที่หวงกันมาก คือวิชาที่เอาออกไปขายได้โดยตรง ได้แก่ศิลปะการแสดงทั้งหลาย เพราะหนึ่งในธุรกิจที่เฟื่องฟูขึ้นในระยะแรกที่ชาวนา (ภาคกลาง) ได้กำไรดีจากการทำนาส่งออกคือธุรกิจบันเทิง
การประชันวงปี่พาทย์ซึ่งเริ่มจะดุเดือดมากขึ้น ก็เริ่มในสมัยนี้ เพราะชัยชนะหมายถึงตลาดที่กว้างขึ้นและมั่นคงขึ้นของวง หรือหมายถึงการอุปถัมภ์ที่มีราคาแพงขึ้น จึงต้องสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย
เช่นเดียวกับหนังตะลุง, ลำตัด, เพลงฉ่อย และต่อมาก็ลิเก ต่างต้องหวงลูกเล่น หวงกลเม็ดเด็ดพราย รวมทั้งหวงตัวพระตัวนาง เพราะล้วนเป็นการแข่งขันกันเพื่อหากำไรในตลาดทั้งสิ้น
ผมคิดว่า ตำนานเรื่องคนไทยหวงวิชาเกิดขึ้นในช่วงนี้ เมื่อวิชาต่าง ๆ กลายเป็นสินค้าได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าวิชาทำว่าว (ขาย), วิชาทำตะกร้อ (ขาย), วิชาทำขนม (ขาย), วิชา ฯลฯ ซึ่งสามารถทำขายได้
แต่ลองไปดูวิชาความรู้ที่ยังไม่กลายเป็นสินค้าดูเถิดครับ ผมเห็นของชาวบ้านไทยแม้จนถึงทุกวันนี้ ไม่เห็นจะหวงอะไรเลย บางกรณียังอุตส่าห์หาทางเผยแพร่วิชาเหล่านั้นฟรี ๆ เสียด้วยซ้ำ ชาวบ้านปากมูลระดมกำลังคนเฒ่าคนแก่มารวบรวมความรู้เกี่ยวกับปลาในลำน้ำมูล (ตามวิธีจำแนกแบบชาวบ้าน ไม่ใช่แบบสัตวศาสตร์ของฝรั่ง - ซึ่งขายได้) กันจนได้ประเภทของปลาเกือบจะเท่ากับที่นักวิทยาศาสตร์เคยรวบรวมไว้ได้ ไม่เห็นหวงวิชาอะไรเลย
ผมไม่ปฏิเสธนะครับว่า ในทุกสังคม (และคงจะทุกสมัย) ความรู้กับสถานภาพทางสังคมแยกออกจากกันยาก เ่ช่นในเมืองไทยคงเป็นไม่ได้ที่จะมีนักเปียโนฝีมือระดับโลกที่มาจากสลัม ถึงจะมีทุนเรียนเปียโนแจกฟรีให้แก่เด็กเยอะแยะแค่ไหนก็ตาม เพราะสิ่งแรกที่เด็กซึ่งจะเป็นนักเปียโนระดับโลกต้องมี คือเปียโนที่บ้านครับ
ฉะนั้น จึงมีวิชาบางชนิดในสังคมโบราณที่เขาไม่เปิดเผยแก่คนทั่วไปอยู่บ้าง ผมจัดวิชาเหล่านี้ว่า เป็นวิชาแห่งอำนาจ เช่น ไสยศาสตร์ เป็นต้น แต่ก็ไม่ใช่การหวงวิชาอยู่ดีนะครับ เพราะที่เขาต้องปิดบังความรู้ทางไสยศาสตร์กันก็เพราะมันมีอันตราย เที่ยวแจกจ่ายให้คนไม่เลือกหน้าไม่ได้ จึงต้องมีข้อกำกับทางศีลธรรมของความรู้ทางไสยศาสตร์ เพื่อไม่ให้อำนาจตกอยู่ในมือของคนชั่ว
วิชาบางอย่างก็อาจต้องหวงไว้สำหรับตระกูล เพราะไปเกี่ยวกับสถานะทางสังคม (ซึ่งก็คืออำนาจในอีกรูปหนึ่ง) เช่นเป็นโหราจารย์ในราชสำนัก หรือเป็นหมอผีของสังคมชนเผ่าบางสังคม
หมอผี เป็นสถานะทางอำนาจอย่างแน่นอน ในบางชนเผ่าจึงใช้วิธีสืบทอดสถานะนี้ผ่านทางสายโลหิต (คล้ายกับพราหมณ์) บางชนเผ่าใช้การเลือกจากคนที่มีลักษณะพิเศษบางอย่าง เอามาฝึกปรือจนสามารถทำหน้าที่ของหมอผีได้ และได้สืบทอดตำแหน่งต่อไป แต่ความรู้ที่จะเป็นหมอผี ย่อมไม่ใช่ความรู้สาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงหมด
เรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยาก แต่กรณีเช่นนี้ การหวงวิชาไม่ใช่บุคคลเป็นผู้หวงเพียงคนเดียว แท้จริงแล้วสังคมทั้งสังคมนั่นแหละที่ต้องหวงเอาไว้กับบางคนเท่านั้น เพราะการกระจายความรู้โดยไม่เลือก ย่อมกระทบต่อโครงสร้างสังคมทั้งหมด
คนไทยปัจจุบันจึงหวงวิชากว่าคนไทยในอดีต และฝรั่งหวงวิชากว่าไทย เพราะฝรั่งมีวิชาที่ต้องหวงมากกว่าไทย และนั่นคือวิชาที่เป็นสินค้าขายดีในตลาด
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1289 ประจำวันที่ 29 เม.ย.-5 พ.ค. 2548
ผมได้ยินตั้งแต่เล็กว่า คนไทยหวงวิชา รู้อะไรแล้วก็ไม่ยอมบอกคนอื่นง่าย ๆ จึงเป็นสาเหตุทำให้วิชาความรู้ในบ้านเมืองเราไม่เจริญ
ฟังปั๊บก็รู้ได้ทันทีนะครับว่า นี่เป็นคำอธิบายความไม่เจริญ (ทัดเทียม) ฝรั่งในด้านวิชาความรู้ของไทย ฉะนั้น คำอธิบายนี้ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ก็ตาม ย่อมปลอบใจคนไทยไปพร้อมกัน
ผมมาสนใจว่าจริงหรือไม่เอาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว นั่นคือเริ่มจากการมองหาหลักฐาน เช่นคำสั่งสอนในสมัยโบราณที่ว่ารู้อันนี้แล้ว อย่าเที่ยวไปบอกใครเชียวนะ ไปจนถึงระแวดระวังไม่ให้คนอื่นได้รู้อะไรที่ตัวรู้อยู่ ผมไม่พบหลักฐานโบราณสักชิ้นเดียว ไม่ว่าในวรรณกรรมหรือเอกสารประเภทอื่น จนมาถึงประมาณสมัย ร.5 ลงมา
แปลว่าไม่มีหลักฐานว่าคนไทยรุ่นก่อนหน้านั้นหวงวิชา
ก็พระเจ้าแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างวัดโพธิ์ ด้วยตั้งพระทัยจะรวบรวมสรรพวิชาความรู้เท่าที่จะสืบหามาได้ในสมัยนั้น รวบรวมขึ้นไว้สำหรับการที่คนทั่วไปจะได้เรียนรู้ตามความปรารถนา แล้วจะบอกว่าหวงวิชาได้อย่างไรครับ
อย่างไรก็ตาม คนที่เชื่อว่าคนไทยหวงวิชาก็ยังอธิบายได้อยู่ดีว่า ให้ดูวัดโพธิ์นั่นแหละเป็นพยาน จะเห็นว่าสรรพวิชาความรู้ที่รวมไว้ในนั้นล้วนเป็นความรู้ชั้นพื้น ๆ ซึ่งใคร ๆ เขาก็รู้กันหมดแล้วทั้งนั้น ไม่มีดุษฎีบัณฑิตคนไหนยอมปล่อยความรู้ระดับลึกในทางโหราศาสตร์, การแพทย์ หรืออักษรศาสตร์ออกมาสู่สาธารณะเลย
ฟังน่าระย่อมากนะครับ และผมเองก็ระย่ออยู่เป็นนานจนแก่ป่านนี้ เพราะไม่มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ไทยโบราณ, โหราศาสตร์ไทยโบราณ, แพทย์แผนไทยโบราณ, อักษรศาสตร์ไทยโบราณ ฯลฯ พอที่จะประเมินได้ว่า ความรู้ในจารึกวัดโพธิ์นั้นผิวเผินจริงหรือไม่
แต่บัดนี้ก็แก่จนได้ที่แล้ว จึงหมดความระย่อลงไปและอยากตั้งคำถามว่า อ้ายความรู้ที่ว่าลึกนักลึกหนาซึ่งไม่กล้าเผยแพร่ให้ใครรู้นั้นคืออะไร? ผมไม่เคยได้ยินสักเรื่องเดียวเลย เช่นมีกลอนกลบทอะไรที่เขาผูกกันมาแต่โบราณ ซึ่งไม่ปรากฏในจารึกวัดโพธิ์บ้าง? ก็ไม่เห็นมีนะครับ
ส่วนจะบอกว่าความรู้ที่วัดโพธิ์ให้ไว้นั้น ไม่ทำให้ใครสามารถผูกกลบทใหม่ของตัวขึ้นได้ นั่นอาจจะจริงหรือไม่จริงผมไม่แน่ใจ เพราะโบราณเชื่อว่าเรียนของเก่าให้เจนจัดแล้ว ก็จะสร้างของใหม่ได้เอง ถึงเีรยนกลบทโบราณแล้วไม่ทำให้ใครผูกกลบทใหม่ได้จริง ก็เป็นเพราะปรัชญาการศึกษาของไทยโบราณไม่ได้ต้องการให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ นับเป็นคนละเรื่องกับหวงวิชา
ว่าเฉพาะแขนงความรู้ที่ผมพอมีโอกาสได้อ่านเอกสารบ้าง คือการแพทย์แผนไทย ผมก็ไม่เคยเห็นความรู้อะไรที่ลึกซึ้งที่ถูกเก็บงำเอาไว้ไม่ยอมให้เผยแพร่ในจารึกวัดโพธิ์สักชิ้นเดียว
จริงอยู่หรอกครับ ตัวยาสำหรับแก้โรคลงท้อง อาจแตกต่างกันในแต่ละตำรับ รวมไปถึงสัดส่วนของตัวยาที่ใช้ วิธีปรุงไปจนถึงวิธีกิน และวิธีเสกคาถาปิดปากหม้อยา ก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แม้แต่การแบ่งสาเหตุของการลงท้องว่ามีกี่อย่างก็อาจไม่เหมือนกันด้วย แต่ทุกตำรับก็มีหลักการตรงกันที่พยายามสร้างสมดุลของธาตุทั้งสี่ในร่างกายเหมือนกันทั้งนั้น
ตำรับที่ไม่อยู่ในจารึกวัดโพธิ์ดีกว่าหรือไม่ ผมไม่ทราบ และเชื่อว่าคนโบราณก็ไม่ทราบชัดเหมือนกัน แต่ละสำนักคงอ้างว่าของตัวเด็ดดวงกว่าสำนักอื่นทั้งนั้น แต่เราไม่เคยมีการประเมินสัมฤทธิผลของตำรับยาอย่างเป็นระบบในสมัยโบราณ ฉะนั้น ที่ปรากฏในจารึกวัดโพธิ์จึงเป็นตำรับที่ดีที่สุดหรือคนทำเชื่อว่าดีที่สุด (เช่นเป็นของหมอหลวง) แต่อาจไม่ได้ผลจริงก็ได้
ถึงกระนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะหวงวิชา
ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ถ้ารวบรวมตำรับยาทั้งคนบอกผีบอกในเมืองไทย ซึ่งอุตสาห์เก็บกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกระจายกันในการครอบครองของบุคคล, ของวัด และของราชการแล้ว ก็จะพบปริมาณมากมายเหลือคณานับ เขาจะลงมือเขียนเอาไว้ทำไม นอกจากเก็บความรู้เหล่านั้นไว้ไม่ให้สูญหายและเผยแพร่ให้แก่คนอื่น ๆ ซึ่งอ่านหนังสือออกและสนใจเรื่องนี้ได้รู้นั่นเอง
ฉะนั้น จึงไม่มีการหวงวิชา อย่างน้อยก็ในหมู่ประชากรที่อ่านหนังสือออก (ซึ่งอาจมีไม่ถึงครึ่ง) อย่างแน่นอน
ประเพณีเรียนหนังสือที่เล่ากันมาก็เหมือนกัน อยากเรียนหนังสือก็เอาพ่อแม่ไปประกอบพิธีกรรมกับครู เสีย "ค่ายกครู" ซึ่งแทบไม่มีค่างวดอะไรในพิธีกรรม แล้วก็ได้เรียนหนังสือ ประเพณีอย่างนี้ฟังดูไม่น่าจะเป็นไปได้ในวัฒนธรรมหวงวิชาเลยนะครับ เอาลูกเข้าสาธิตหรือสวนกุหลาบปัจจุบันยังยากกว่ากันเป็นแสนเท่า
ตรงกันข้ามกับที่ประกาศกันมา ผมกลับคิดว่าการหวงวิชาเป็นผลผลิตของโลกสมัยใหม่ต่างหาก คนที่หวงวิชาที่สุดในโลกเวลานี้ คือฝรั่งในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งพยายามจะสร้างระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เอาเปรียบคนอื่น ๆ ทั้งโลก เพราะความรู้ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่กลายเป็นสินค้าร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นไปไม่ได้ในระบบสังคมของโลกสมัยใหม่ ที่จะหวงความรู้เอาไว้แต่ผู้เดียว จึงต้องจดสิทธิบัตรความรู้เอาไว้ให้ขายกินกำไรได้นาน ๆ หรือแบ่งความรู้ออกขายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อทำกำไรได้มากกว่า
จริงอยู่หรอกครับ ที่ฝรั่งรู้จักการขยายความรู้ให้แพร่หลายในหมู่ประชาชน (popularization of knowledge) มาก่อนไทย จึงดูเหมือนไม่ได้หวงวิชา แต่ที่คนไทยไม่ได้ขยายความรู้ให้แพร่หลาย ก็ไม่ใช่เพราะหวงวิชาหรอก ก็มีปัญญาความสามารถจะขยายได้แค่นั้น คือเขียน (เพราะยังไม่มีการพิมพ์) ลงสมุดเก็บไว้หรือถวายวัด (ซึ่งคือการเผยแพร่อย่างหนึ่ง) อีกทั้งไม่มีเงื่อนไขปัจจัยอะไรในสังคมไทยโบราณ ที่จะต้องขยายความรู้ให้แพร่หลายอย่างกว้างขวางเท่าสังคมฝรั่งด้วย
กล่าวโดยสรุปก็คือ การหวงวิชาเกิดขึ้นเมื่อวิชากลายเป็นสินค้า หรือมีผลประโยชน์ทางการค้าเข้ามาเกี่ยวข้องกับความรู้และการใช้ความรู้ต่างหาก
และการหวงวิชาในลักษณะนี้ ได้ยินได้ฟังกันในเมืองไทยมากก็หลัง ร.5 มาแล้วทั้งนั้น วิชาหนึ่งที่หวงกันมาก คือวิชาที่เอาออกไปขายได้โดยตรง ได้แก่ศิลปะการแสดงทั้งหลาย เพราะหนึ่งในธุรกิจที่เฟื่องฟูขึ้นในระยะแรกที่ชาวนา (ภาคกลาง) ได้กำไรดีจากการทำนาส่งออกคือธุรกิจบันเทิง
การประชันวงปี่พาทย์ซึ่งเริ่มจะดุเดือดมากขึ้น ก็เริ่มในสมัยนี้ เพราะชัยชนะหมายถึงตลาดที่กว้างขึ้นและมั่นคงขึ้นของวง หรือหมายถึงการอุปถัมภ์ที่มีราคาแพงขึ้น จึงต้องสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย
เช่นเดียวกับหนังตะลุง, ลำตัด, เพลงฉ่อย และต่อมาก็ลิเก ต่างต้องหวงลูกเล่น หวงกลเม็ดเด็ดพราย รวมทั้งหวงตัวพระตัวนาง เพราะล้วนเป็นการแข่งขันกันเพื่อหากำไรในตลาดทั้งสิ้น
ผมคิดว่า ตำนานเรื่องคนไทยหวงวิชาเกิดขึ้นในช่วงนี้ เมื่อวิชาต่าง ๆ กลายเป็นสินค้าได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าวิชาทำว่าว (ขาย), วิชาทำตะกร้อ (ขาย), วิชาทำขนม (ขาย), วิชา ฯลฯ ซึ่งสามารถทำขายได้
แต่ลองไปดูวิชาความรู้ที่ยังไม่กลายเป็นสินค้าดูเถิดครับ ผมเห็นของชาวบ้านไทยแม้จนถึงทุกวันนี้ ไม่เห็นจะหวงอะไรเลย บางกรณียังอุตส่าห์หาทางเผยแพร่วิชาเหล่านั้นฟรี ๆ เสียด้วยซ้ำ ชาวบ้านปากมูลระดมกำลังคนเฒ่าคนแก่มารวบรวมความรู้เกี่ยวกับปลาในลำน้ำมูล (ตามวิธีจำแนกแบบชาวบ้าน ไม่ใช่แบบสัตวศาสตร์ของฝรั่ง - ซึ่งขายได้) กันจนได้ประเภทของปลาเกือบจะเท่ากับที่นักวิทยาศาสตร์เคยรวบรวมไว้ได้ ไม่เห็นหวงวิชาอะไรเลย
ผมไม่ปฏิเสธนะครับว่า ในทุกสังคม (และคงจะทุกสมัย) ความรู้กับสถานภาพทางสังคมแยกออกจากกันยาก เ่ช่นในเมืองไทยคงเป็นไม่ได้ที่จะมีนักเปียโนฝีมือระดับโลกที่มาจากสลัม ถึงจะมีทุนเรียนเปียโนแจกฟรีให้แก่เด็กเยอะแยะแค่ไหนก็ตาม เพราะสิ่งแรกที่เด็กซึ่งจะเป็นนักเปียโนระดับโลกต้องมี คือเปียโนที่บ้านครับ
ฉะนั้น จึงมีวิชาบางชนิดในสังคมโบราณที่เขาไม่เปิดเผยแก่คนทั่วไปอยู่บ้าง ผมจัดวิชาเหล่านี้ว่า เป็นวิชาแห่งอำนาจ เช่น ไสยศาสตร์ เป็นต้น แต่ก็ไม่ใช่การหวงวิชาอยู่ดีนะครับ เพราะที่เขาต้องปิดบังความรู้ทางไสยศาสตร์กันก็เพราะมันมีอันตราย เที่ยวแจกจ่ายให้คนไม่เลือกหน้าไม่ได้ จึงต้องมีข้อกำกับทางศีลธรรมของความรู้ทางไสยศาสตร์ เพื่อไม่ให้อำนาจตกอยู่ในมือของคนชั่ว
วิชาบางอย่างก็อาจต้องหวงไว้สำหรับตระกูล เพราะไปเกี่ยวกับสถานะทางสังคม (ซึ่งก็คืออำนาจในอีกรูปหนึ่ง) เช่นเป็นโหราจารย์ในราชสำนัก หรือเป็นหมอผีของสังคมชนเผ่าบางสังคม
หมอผี เป็นสถานะทางอำนาจอย่างแน่นอน ในบางชนเผ่าจึงใช้วิธีสืบทอดสถานะนี้ผ่านทางสายโลหิต (คล้ายกับพราหมณ์) บางชนเผ่าใช้การเลือกจากคนที่มีลักษณะพิเศษบางอย่าง เอามาฝึกปรือจนสามารถทำหน้าที่ของหมอผีได้ และได้สืบทอดตำแหน่งต่อไป แต่ความรู้ที่จะเป็นหมอผี ย่อมไม่ใช่ความรู้สาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงหมด
เรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยาก แต่กรณีเช่นนี้ การหวงวิชาไม่ใช่บุคคลเป็นผู้หวงเพียงคนเดียว แท้จริงแล้วสังคมทั้งสังคมนั่นแหละที่ต้องหวงเอาไว้กับบางคนเท่านั้น เพราะการกระจายความรู้โดยไม่เลือก ย่อมกระทบต่อโครงสร้างสังคมทั้งหมด
คนไทยปัจจุบันจึงหวงวิชากว่าคนไทยในอดีต และฝรั่งหวงวิชากว่าไทย เพราะฝรั่งมีวิชาที่ต้องหวงมากกว่าไทย และนั่นคือวิชาที่เป็นสินค้าขายดีในตลาด
May 04, 2005
Moving IT management to a new paradigm
By Jan Stafford
ซอฟท์แวร์บริหารจัดการไอที แบ่งประเภทได้ตั้งแต่โซลูชั่นเฉพาะด้านนับร้อย ไปจนถึงซอฟท์แวร์ที่รวมกันเป็นชุดขนาดมหึมาใช้สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ Robert Fanini ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ GroundWork Open Source Solution Inc., ในเอเมอรี่วิลล์ แคลิฟอร์เนีย ตั้งเป้าหมายไว้ระหว่างสองกลุ่มข้างต้น ด้วยชุดซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สที่ไม่ซับซ้อน ราคาต่ำ สำหรับการบริหารจัดการไอที ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ Fanini อธิบายว่าโอเพ่นซอร์สจะเปิดหูเปิดตาของหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านไอที (Chief Information Officers = CIOs) ที่ยังคลางแคลงใจได้อย่างไร
คุณยังคงเห็นความน่าสนใจของซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับบริษัทต่าง ๆ อยู่หรือเปล่า?
Fanini: พวกเราเห็นแรงกดดันอย่างมากที่มีต่อผู้บริหารระดับสูง จากสตาฟท์ด้านไอทีของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งต้องการใช้ลินุกซ์และซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส
ในทางตรงกันข้าม CIOs จำนวนมากบอกเราว่าโอเพ่นซอร์สไม่ได้อยู่ในความสนใจของเขาแล้ว ทำไมคุณจึงคิดว่าพวกเขาไม่สนใจโอเพ่นซอร์สเอามาก ๆ? จะเปลี่ยนแปลงความคิดนั้นด้วยอะไร?
Fanini: CIOs อาจจะแสดงออกว่าพวกเขาไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่โอเพ่นซอร์ส เพราะซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่ ถูกใช้งานในแผนกพัฒนาของบริษัทขนาดยักษ์อยู่แล้ว โอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกแรกสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในงานพัฒนา -- Apache (ใช้งานเป็นเวบเซิฟเวอร์กันมากกว่า 80%) เป็นตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้
ผลประโยชน์จากการใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สจะเกิดขึ้นเด่นชัดกับ CIOs เมื่อมันเป็นทางเลือกหนึ่งในแผนกไอที ประโยชน์เหล่านี้จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นเนื่องจาก เราหาโปรแกรมโอเพ่นซอร์สมาใช้งานได้ง่ายและใช้สะดวก เป็นความจริงที่ว่าเมื่อผู้เชี่ยวชาญยอมรับโอเพ่นซอร์ส ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพแง่บวกกับการใช้งานโอเพ่นซอร์สภายในบริษัท
หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ไอที ผลิตภัณฑ์โอเพ่นซอร์สมีคุณสมบัติอะไร ที่ทำให้มันเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงเวลานี้?
Fanini: ทุกวันนี้ โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของธุรกิจต่าง ๆ ต่างชนิดกัน ใช้งานร่วมกันไม่ได้
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเลือกเครื่องมือและแอพพลิเคชันซอฟท์แวร์ที่ยืดหยุ่น และมีความ
สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือและโปรแกรมที่มีอยู่แต่เดิม ชุดโปรแกรมของโอเพ่นซอร์ส
มักจะมีความยืดหยุ่นสูง และใช้งานร่วมกับโปรแกรมเดิมได้สบาย เพราะมันไม่ใช่โปรแกรมแบบ
proprietary (คนไทยเรียกกันว่าโปรแกรมลิขสิทธิ์ --ผู้เรียบเรียง)
CIOs บางคนบอกกับเราว่า พวกเขาได้ยินมามากเกี่ยวกับซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สว่า ยืดหยุ่นกว่าและ
ใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์ที่มีอยู่เดิมง่ายกว่า แต่พวกเขาไม่ "เข้าใจ" จริง ๆ ว่าทำไมโอเพ่นซอร์สจึงมี
คุณลักษณะนี้? คุณช่วยอธิบายได้ไหม?
Fanini: คำตอบง่าย ๆ คือ โดยธรรมชาติโอเพ่นซอร์สถูกออกแบบ วางกฏเกณฑ์ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อการใข้งานแบบเอนกประสงค์และแบบประยุกต์ การจะทำเช่นนี้ได้ ข้อมูลที่ส่งเข้าไป และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาในระบบโอเพ่นซอร์ส ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง หรืออย่างน้อยที่สุด โปรโตคอลสำหรับการใช้งานเชื่อมต่อกันจะเป็นแบบเปิด กำหนดไว้ชัดเจนและเผยแพร่ออกมา รหัสต้นฉบับก็เผยแพร่ให้ใช้ประโยชน์เช่นกัน ผู้ใช้งานจึงมีความสะดวกที่จะนำรหัสต้นฉบับมาดัดแปลงส่วนเชื่อมต่อใด ๆ เพื่อส่งและรับข้อมูลฟอร์แมตที่ต่างประเภทกันได้ ทำให้ง่ายต่อการผสมผสานเข้ากับระบบงาน, เครื่องมือ และข้อมูลที่มีอยู่เดิม
ในทางตรงกันข้าม ซอฟท์แวร์เชิงพานิชย์ (commercial) นั้น "ปิด" (ไม่มีรหัสต้นฉบับให้ใช้) มีอินเทอร์เฟซและข้อมูลเป็นแบบ proprietary เพื่อปกป้องตัวผู้ขายซอฟท์แวร์เอาไว้
CIOs บางคนเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องบังคับพวกสตาฟท์ทางไอทีเพื่อจะนำโอเพ่นซอร์สมาใช้ เพราะผู้จัดการด้านวินโดว์และยูนิกซ์รุ่นปัจจุบัน ไม่มีทักษะในการใช้งานโอเพ่นซอร์ส ความเชื่อนี้มีอะไรถูกและผิดบ้าง?
Fanini: เป็นเรื่องจริงที่การใช้งานลินุกซ์ในสำนักงานที่ใช้วินโดว์/ยูนิกซ์อยู่ ต้องการสตาฟท์ไอที ที่ได้รับการเทรนให้รู้จักการจัดการลินุกซ์ ผมเชื่อว่าเทคนิเชี่ยนส่วนมากยินดีกับโอกาสที่จะได้เรียนรู้การทำงานกับลินุกซ์ เพราะมันมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เรียบเรียงบางส่วนจาก Moving IT management to a new paradigm
ซอฟท์แวร์บริหารจัดการไอที แบ่งประเภทได้ตั้งแต่โซลูชั่นเฉพาะด้านนับร้อย ไปจนถึงซอฟท์แวร์ที่รวมกันเป็นชุดขนาดมหึมาใช้สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ Robert Fanini ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ GroundWork Open Source Solution Inc., ในเอเมอรี่วิลล์ แคลิฟอร์เนีย ตั้งเป้าหมายไว้ระหว่างสองกลุ่มข้างต้น ด้วยชุดซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สที่ไม่ซับซ้อน ราคาต่ำ สำหรับการบริหารจัดการไอที ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ Fanini อธิบายว่าโอเพ่นซอร์สจะเปิดหูเปิดตาของหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านไอที (Chief Information Officers = CIOs) ที่ยังคลางแคลงใจได้อย่างไร
คุณยังคงเห็นความน่าสนใจของซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับบริษัทต่าง ๆ อยู่หรือเปล่า?
Fanini: พวกเราเห็นแรงกดดันอย่างมากที่มีต่อผู้บริหารระดับสูง จากสตาฟท์ด้านไอทีของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งต้องการใช้ลินุกซ์และซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส
ในทางตรงกันข้าม CIOs จำนวนมากบอกเราว่าโอเพ่นซอร์สไม่ได้อยู่ในความสนใจของเขาแล้ว ทำไมคุณจึงคิดว่าพวกเขาไม่สนใจโอเพ่นซอร์สเอามาก ๆ? จะเปลี่ยนแปลงความคิดนั้นด้วยอะไร?
Fanini: CIOs อาจจะแสดงออกว่าพวกเขาไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่โอเพ่นซอร์ส เพราะซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่ ถูกใช้งานในแผนกพัฒนาของบริษัทขนาดยักษ์อยู่แล้ว โอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกแรกสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในงานพัฒนา -- Apache (ใช้งานเป็นเวบเซิฟเวอร์กันมากกว่า 80%) เป็นตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้
ผลประโยชน์จากการใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สจะเกิดขึ้นเด่นชัดกับ CIOs เมื่อมันเป็นทางเลือกหนึ่งในแผนกไอที ประโยชน์เหล่านี้จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นเนื่องจาก เราหาโปรแกรมโอเพ่นซอร์สมาใช้งานได้ง่ายและใช้สะดวก เป็นความจริงที่ว่าเมื่อผู้เชี่ยวชาญยอมรับโอเพ่นซอร์ส ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพแง่บวกกับการใช้งานโอเพ่นซอร์สภายในบริษัท
หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ไอที ผลิตภัณฑ์โอเพ่นซอร์สมีคุณสมบัติอะไร ที่ทำให้มันเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงเวลานี้?
Fanini: ทุกวันนี้ โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของธุรกิจต่าง ๆ ต่างชนิดกัน ใช้งานร่วมกันไม่ได้
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเลือกเครื่องมือและแอพพลิเคชันซอฟท์แวร์ที่ยืดหยุ่น และมีความ
สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือและโปรแกรมที่มีอยู่แต่เดิม ชุดโปรแกรมของโอเพ่นซอร์ส
มักจะมีความยืดหยุ่นสูง และใช้งานร่วมกับโปรแกรมเดิมได้สบาย เพราะมันไม่ใช่โปรแกรมแบบ
proprietary (คนไทยเรียกกันว่าโปรแกรมลิขสิทธิ์ --ผู้เรียบเรียง)
CIOs บางคนบอกกับเราว่า พวกเขาได้ยินมามากเกี่ยวกับซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สว่า ยืดหยุ่นกว่าและ
ใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์ที่มีอยู่เดิมง่ายกว่า แต่พวกเขาไม่ "เข้าใจ" จริง ๆ ว่าทำไมโอเพ่นซอร์สจึงมี
คุณลักษณะนี้? คุณช่วยอธิบายได้ไหม?
Fanini: คำตอบง่าย ๆ คือ โดยธรรมชาติโอเพ่นซอร์สถูกออกแบบ วางกฏเกณฑ์ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อการใข้งานแบบเอนกประสงค์และแบบประยุกต์ การจะทำเช่นนี้ได้ ข้อมูลที่ส่งเข้าไป และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาในระบบโอเพ่นซอร์ส ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง หรืออย่างน้อยที่สุด โปรโตคอลสำหรับการใช้งานเชื่อมต่อกันจะเป็นแบบเปิด กำหนดไว้ชัดเจนและเผยแพร่ออกมา รหัสต้นฉบับก็เผยแพร่ให้ใช้ประโยชน์เช่นกัน ผู้ใช้งานจึงมีความสะดวกที่จะนำรหัสต้นฉบับมาดัดแปลงส่วนเชื่อมต่อใด ๆ เพื่อส่งและรับข้อมูลฟอร์แมตที่ต่างประเภทกันได้ ทำให้ง่ายต่อการผสมผสานเข้ากับระบบงาน, เครื่องมือ และข้อมูลที่มีอยู่เดิม
ในทางตรงกันข้าม ซอฟท์แวร์เชิงพานิชย์ (commercial) นั้น "ปิด" (ไม่มีรหัสต้นฉบับให้ใช้) มีอินเทอร์เฟซและข้อมูลเป็นแบบ proprietary เพื่อปกป้องตัวผู้ขายซอฟท์แวร์เอาไว้
CIOs บางคนเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องบังคับพวกสตาฟท์ทางไอทีเพื่อจะนำโอเพ่นซอร์สมาใช้ เพราะผู้จัดการด้านวินโดว์และยูนิกซ์รุ่นปัจจุบัน ไม่มีทักษะในการใช้งานโอเพ่นซอร์ส ความเชื่อนี้มีอะไรถูกและผิดบ้าง?
Fanini: เป็นเรื่องจริงที่การใช้งานลินุกซ์ในสำนักงานที่ใช้วินโดว์/ยูนิกซ์อยู่ ต้องการสตาฟท์ไอที ที่ได้รับการเทรนให้รู้จักการจัดการลินุกซ์ ผมเชื่อว่าเทคนิเชี่ยนส่วนมากยินดีกับโอกาสที่จะได้เรียนรู้การทำงานกับลินุกซ์ เพราะมันมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เรียบเรียงบางส่วนจาก Moving IT management to a new paradigm