May 04, 2005

Moving IT management to a new paradigm

By Jan Stafford

ซอฟท์แวร์บริหารจัดการไอที แบ่งประเภทได้ตั้งแต่โซลูชั่นเฉพาะด้านนับร้อย ไปจนถึงซอฟท์แวร์ที่รวมกันเป็นชุดขนาดมหึมาใช้สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ Robert Fanini ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ GroundWork Open Source Solution Inc., ในเอเมอรี่วิลล์ แคลิฟอร์เนีย ตั้งเป้าหมายไว้ระหว่างสองกลุ่มข้างต้น ด้วยชุดซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สที่ไม่ซับซ้อน ราคาต่ำ สำหรับการบริหารจัดการไอที ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ Fanini อธิบายว่าโอเพ่นซอร์สจะเปิดหูเปิดตาของหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านไอที (Chief Information Officers = CIOs) ที่ยังคลางแคลงใจได้อย่างไร

คุณยังคงเห็นความน่าสนใจของซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับบริษัทต่าง ๆ อยู่หรือเปล่า?

Fanini: พวกเราเห็นแรงกดดันอย่างมากที่มีต่อผู้บริหารระดับสูง จากสตาฟท์ด้านไอทีของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งต้องการใช้ลินุกซ์และซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส

ในทางตรงกันข้าม CIOs จำนวนมากบอกเราว่าโอเพ่นซอร์สไม่ได้อยู่ในความสนใจของเขาแล้ว ทำไมคุณจึงคิดว่าพวกเขาไม่สนใจโอเพ่นซอร์สเอามาก ๆ? จะเปลี่ยนแปลงความคิดนั้นด้วยอะไร?

Fanini: CIOs อาจจะแสดงออกว่าพวกเขาไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่โอเพ่นซอร์ส เพราะซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนใหญ่ ถูกใช้งานในแผนกพัฒนาของบริษัทขนาดยักษ์อยู่แล้ว โอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกแรกสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในงานพัฒนา -- Apache (ใช้งานเป็นเวบเซิฟเวอร์กันมากกว่า 80%) เป็นตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้

ผลประโยชน์จากการใช้ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สจะเกิดขึ้นเด่นชัดกับ CIOs เมื่อมันเป็นทางเลือกหนึ่งในแผนกไอที ประโยชน์เหล่านี้จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นเนื่องจาก เราหาโปรแกรมโอเพ่นซอร์สมาใช้งานได้ง่ายและใช้สะดวก เป็นความจริงที่ว่าเมื่อผู้เชี่ยวชาญยอมรับโอเพ่นซอร์ส ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพแง่บวกกับการใช้งานโอเพ่นซอร์สภายในบริษัท

หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ไอที ผลิตภัณฑ์โอเพ่นซอร์สมีคุณสมบัติอะไร ที่ทำให้มันเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงเวลานี้?

Fanini: ทุกวันนี้ โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของธุรกิจต่าง ๆ ต่างชนิดกัน ใช้งานร่วมกันไม่ได้
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเลือกเครื่องมือและแอพพลิเคชันซอฟท์แวร์ที่ยืดหยุ่น และมีความ
สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือและโปรแกรมที่มีอยู่แต่เดิม ชุดโปรแกรมของโอเพ่นซอร์ส
มักจะมีความยืดหยุ่นสูง และใช้งานร่วมกับโปรแกรมเดิมได้สบาย เพราะมันไม่ใช่โปรแกรมแบบ
proprietary (คนไทยเรียกกันว่าโปรแกรมลิขสิทธิ์ --ผู้เรียบเรียง)

CIOs บางคนบอกกับเราว่า พวกเขาได้ยินมามากเกี่ยวกับซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สว่า ยืดหยุ่นกว่าและ
ใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์ที่มีอยู่เดิมง่ายกว่า แต่พวกเขาไม่ "เข้าใจ" จริง ๆ ว่าทำไมโอเพ่นซอร์สจึงมี
คุณลักษณะนี้? คุณช่วยอธิบายได้ไหม?

Fanini: คำตอบง่าย ๆ คือ โดยธรรมชาติโอเพ่นซอร์สถูกออกแบบ วางกฏเกณฑ์ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อการใข้งานแบบเอนกประสงค์และแบบประยุกต์ การจะทำเช่นนี้ได้ ข้อมูลที่ส่งเข้าไป และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาในระบบโอเพ่นซอร์ส ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง หรืออย่างน้อยที่สุด โปรโตคอลสำหรับการใช้งานเชื่อมต่อกันจะเป็นแบบเปิด กำหนดไว้ชัดเจนและเผยแพร่ออกมา รหัสต้นฉบับก็เผยแพร่ให้ใช้ประโยชน์เช่นกัน ผู้ใช้งานจึงมีความสะดวกที่จะนำรหัสต้นฉบับมาดัดแปลงส่วนเชื่อมต่อใด ๆ เพื่อส่งและรับข้อมูลฟอร์แมตที่ต่างประเภทกันได้ ทำให้ง่ายต่อการผสมผสานเข้ากับระบบงาน, เครื่องมือ และข้อมูลที่มีอยู่เดิม

ในทางตรงกันข้าม ซอฟท์แวร์เชิงพานิชย์ (commercial) นั้น "ปิด" (ไม่มีรหัสต้นฉบับให้ใช้) มีอินเทอร์เฟซและข้อมูลเป็นแบบ proprietary เพื่อปกป้องตัวผู้ขายซอฟท์แวร์เอาไว้

CIOs บางคนเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องบังคับพวกสตาฟท์ทางไอทีเพื่อจะนำโอเพ่นซอร์สมาใช้ เพราะผู้จัดการด้านวินโดว์และยูนิกซ์รุ่นปัจจุบัน ไม่มีทักษะในการใช้งานโอเพ่นซอร์ส ความเชื่อนี้มีอะไรถูกและผิดบ้าง?

Fanini: เป็นเรื่องจริงที่การใช้งานลินุกซ์ในสำนักงานที่ใช้วินโดว์/ยูนิกซ์อยู่ ต้องการสตาฟท์ไอที ที่ได้รับการเทรนให้รู้จักการจัดการลินุกซ์ ผมเชื่อว่าเทคนิเชี่ยนส่วนมากยินดีกับโอกาสที่จะได้เรียนรู้การทำงานกับลินุกซ์ เพราะมันมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เรียบเรียงบางส่วนจาก Moving IT management to a new paradigm


<< Home

This page is powered by Blogger. Isn't yours?