July 05, 2005

Switching To Linux Checklist

ถ้าคุณเคยได้ยินเกี่ยวกับลินุกซ์และอยากจะลอง หรือหากคุณต้องการทดลองใช้ดูแต่คุณกลัวว่าจะทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณเสียหาย บทความนี้เขียนขึ้นสำหรับคุณเลย ลองอ่านดู แล้วเลือกใช้ในสิ่งที่คุณต้องการและไม่ต้องไปสนใจส่วนที่เห็นว่าไม่มีประโยชน์ มันอาจจะช่วยคุณเริ่มต้นใช้ลินุกซ์ครั้งแรกก็เป็นได้

ขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้พยายามจะโปรโมตอะไร : ไม่ใช่ลินุกซ์ ไม่ใช่เฟดดอร่า และไม่ใช่เคดีอี หรือกะโนม คุณต้องทดลองมันเพื่อตัวคุณเอง ค้นหาว่าอันไหนเหมาะสมกับคุณที่สุด และใช้งานมัน ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของผม ผมจึงต้องขออภัยล่วงหน้าหากมีข้อผิดพลาดบ้าง

1. เวลา : หรือ : คุณควรแน่ใจว่ามีเวลาให้กับมันเพียงพอ

ลินุกซ์ไม่ใช่วินโดว์ แม้ว่าลินุกซ์จำนวนมากหลาย ๆ ดิสทริบิวต์ชัน สามารถติดตั้งและปรับแต่งมันโดยผ่านหน้าจอแบบกราฟฟิก (เหมือนเช่นที่ทำบนวินโดว์) งานบางงานทำสำเร็จง่ายกว่า เมื่อคุณพิมพ์คำสั่งแบบคอมมานด์ไลน์ (เหมือนกับ cmd.ext/command.com บนวินโดว์) โปรดทราบด้วยว่าการเรียนรู้ลินุกซ์ต้องใช้เวลา แต่เมื่อคุณทำสำเร็จรางวัลที่ได้รับนับว่าคุ้มค่าต่อความพยายาม

ตัวอย่างเล็ก ๆ ก็เช่น : การเขียนซีดีซํกแผ่นเป็น ISO image สามารถใช้เมาส์คลิก ๆ ไปบนโปรแกรมชื่อ K3B ได้เลย หรือจะนั่งพิมพ์คำสั่ง “cdreord dev=ATAPI:1,0,0 speed=48 filename.iso” บนหน้าจอคอนโซลก็ได้ อีกตัวอย่างคือ การสำรองข้อมูลทำได้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง “tar –czpf /media/backup-drive/$HOSTNAME-$(date +%F).tgz” หรือเช่นกัน ทำได้โดยการคลิกเมาส์บนแอพพลิเคชันที่เป็นกราฟฟิก

2. อย่าท้อถอย

ตั้งใจล่วงหน้าไว้เลย ว่าคุณจะไม่ท้อถอย

3. เริ่มต้นทดลองใช้ลินุกซ์ที่เป็น LiveCD ก่อน

ดาวโหลดพวก ISO เขียนใส่ซีดีและทดลองใช้ดู LiveCD จะบูตจากไดร์วซีดีรอมของเครื่องและทำงานได้โดยไม่แตะต้องฮาร์ดดิสของคุณเลย ทดลองเล่นดู ดูว่าลินุกซ์ยังน่าสนใจอยู่หรือไม่?

นี่คือลินุกซ์ดิสทริบิวต์ชันที่น่าสนใจ

ทั้ง Knoppix และ Ubuntu (อูบุนตู) ใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตั้งวินโดว์เอ็กซ์พีผ่าน ลองใช้ DSL (Damm Small Linux) ดู ถ้าคุณวางแผนว่าจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเก่า ๆ DSL เป็นระบบปฏิบัติการขนาด 50 เมกกะไบต์ ที่สามารถทำงานได้บนเครื่อง 486/66 ด้วยแรม 16 เมกกะไบต์ และบูตจาก USB flash drive ได้ นอกจากนั้น พวกลินุกซ์แบบไลฟ์ซีดีเหล่านี้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานโดยไม่ได้ติดตั้งอะไรลงไปบนฮาร์ดดิสในเครื่องเลย ; วินโดว์ของคุณจึงยังคงปลอดภัย (ยกเว้นคุณไปทำอะไรที่มันแย่จริง ๆ) **LiveCD เมื่อบูตขึ้นมาก็จะมีหน้าตาเหมือนเราใช้วินโดว์ เห็นไดร์ว C: D: เห็นไฟล์อื่น ๆ เหมือนที่เห็นบนวินโดว์ ฯลฯ อะไรที่แย่ ๆ ในที่นี้คงหมายถึง ผู้ใช้ไปสั่งลบไฟล์บนฮาร์ดดิส ถ้าไม่ไปลบไฟล์ ก็ไม่มีปัญหาอะไร ผู้เรียบเรียง**

4. เลือกลินุกซ์ซักดิสทริบิวต์ชันนึง

สิ่งสำคัญที่สุดอันดับแรก ไม่ว่าคุณจะเลือกตัวไหน โปรดจำไว้ว่า : ลินุกซ์คือลินุกซ์คือลินุกซ์คือลินุกซ์ ลินุกซ์แต่ละดิสทริบิวต์ชันอาจะมีกระบวนการติดตั้งที่แตกต่างกัน การจัดการแพคเกจที่ต่างกัน และเครื่องมือที่ใช้ปรับแต่งแตกต่างกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้วลินุกซ์นั้นเหมือน ๆ กัน

โดยส่วนตัวผมใช้เฟดดอร่าคอร์ 3 และ 4 (http://fedora.redhat.com) แต่มันขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัวของแต่ละคน ลินุกซ์อื่น ๆ ยังมีอีกเช่น

5. การเชื่อมต่ออินเตอร์เนต

จะให้ดีควรมีคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง (ที่ใช้ระบบปฏิบัติการที่คุณใช้อยู่เป็นปกติ) ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เนตอยู่ เพื่อที่จะใช้ค้นหาข้อมูลจาก Google หรือหาข้อมูลในฟอรัมของลินุกซ์ที่คุณชอบ หากคุณไม่ต้องการบูตกลับไปกลับมาระหว่างระบบปฏิบัติการสองตัวในเครื่องเดียวกันเวลาที่คุณติดขัดปัญหา

6. ฮาร์ดแวร์เก่า ๆ

ลินุกซ์ทำงานได้ดีบนฮาร์ดแวร์เก่า คุณสามารถใช้เครื่อง AMD K6 500 หรือ Pentium3 450 และการ์ดจอเก่า ๆ แบบ ATI Range Pro 128 ได้ ถ้าคุณมีหน่วยความจำ (RAM) เพียงพอ มันจะทำงานได้ดีทีเดียว ผมมีเครื่อง Dell Inspiron 7000 เป็น 366 Mhz Intel PII, 256 MB, Harddisk 10 GB ผมสามารถเล่นเกมส์ Doom3 ได้ มันเพียงพอที่จะใช้เขียนโปรแกรม อ่านอีเมล์ เขียนเอกสารและท่องเนต

7. Google

หากคุณติดขัดไม่รู้จะทำอย่างไร ให้ค้นหาจาก Google www.google.com สันนิษฐานว่าคำถามของคุณคงจะมีคนอื่น ๆ ถามและตอบแล้วนับพันครั้ง ค้นมันดูและคุณจะพบคำตอบ

8. อ่านคู่มือ

9. ฟอรัมสำหรับความช่วยเหลือ

ใช้ฟอรัมเพื่อขอความช่วยเหลือ อย่าเกรงว่าจะดูไม่ฉลาด เราทุกคนเคยโง่ หรือทำผิดพลาดมาก่อนทั้งสิ้น (หรือใครเคยสั่ง rm –rf มั่ง?)


10. จดบันทึก

จดบันทึกทุกอย่างที่คุณทำไว้ คุณอาจต้องใช้มันอีกในอนาคต

11. ใช้ซอฟท์แวร์ลินุกซ์ : หรือ : อย่าวางแผนใช้ซอฟท์แวร์ของวินโดว์บนลินุกซ์

คุณอาจติดตั้งโปรแกรมชื่อ wine ได้ (เป็นโปรแกรมแปลงให้ซอฟท์แวร์ของวินโดว์รันบนลินุกซ์ได้ http://www.winehq.org) เพื่อใช้งานโปรแกรมวินโดว์ที่คุณชอบหรือว่าเล่นเกมส์ สิ่งสำคัญคือเราควรเปลี่ยนแปลงการใช้งานของเราทั้งหมด

ลินุกซ์มีซอฟท์แวร์ให้ใช้งานจำนวนมากซึ่งมาพร้อมกับการติดตั้งลินุกซ์แต่ละดิสทริบิวต์ชันอยู่แล้ว ทั้งที่ทำงานบนเดสก์ทอปชื่อ KDE (http://www.kde.org) และ GNOME (http://www.gnome.org), Open Office (http://www.openoffice.org) ชุดออฟฟิศแบบไมโครซอฟท์ออฟฟิศ, Evolution ที่ทำงานได้เหมือนกับโปรแกรม outlook ของวินโดว์ (http://www.gnome.org/projects/evolution/), K3B โปรแกรมเขียนซีดีเหมือนกับ Nero (http://www.k3b.org) และยังมีโปรแกรมอื่น ๆ อีกมากมาย

ตอนนี้ดีกว่าแต่ก่อน เกมส์จำนวนมากถูกแปลงให้เล่นบนลินุกซ์ได้แล้ว : เช่น Quake 1/2/3, Doom3. Unreal, UT, TU2K3/4, Enemy Territory และ America’s Army คุณต้องใช้ซีดีต้นฉบับเพื่อติดตั้งเกมส์พวกนี้

12. ตรวจสอบฮาร์ดแวร์

ก่อนจะเริ่มต้น คุณสามารถค้นหาฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานลินุกซ์ได้ที่ http://www.linuxcompatible.org/compatiblility.html

12.1 โดยทั่วไป


12.2
การ์ดแสดงผล


12.3
คอนโทรลเลอร์ของฮาร์ดดิส

12.4 เนตเวิร์ค


12.5 เสียง

12.6 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ

ขอให้โชคดี

กิลโบ ดาวารา

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผมอายุ 31 ปี เป็นวิศวกรซอฟท์แวร์จาก Ramat-Gan อิสราเอล ส่วนใหญ่ผมทำงานเขียนโปรแกรมระดับเคอร์เนลทั้งลินุกซ์และวินโดว์ ผมใช้ลินุกซ์ตั้งแต่ปี 1998

เรียบเรียงจาก Switching To Linux Checklist



<< Home

This page is powered by Blogger. Isn't yours?